1. ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ ระบบการทำงานในอดีตมีการใช้ระบบสารสนเทศช่วยจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพไม่แน่นอน ไม่มีความสะดวก และมีคามยุ่งยากในการใช้งาน ปัจจุบันจึงได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาในการจัดการระบบสารสนเทศในองค์กรมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศ (Information Systems) คือ กระบวนการรวบรวม บันทึก ประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน คบคุมการทำงาน และช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการทำงานในทุกด้าน แต่ละด้านสามารถแบ่งประเภทได้หลายรูปแบบตามความต้องการของผู้ใช้งานในด้านนั้นๆ เช่น ระบบสารสนเทศที่ใช้ส่งเสริมการทำงานในด้านอุตสาหกรรม สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ระบบสารสนเทศการจัดการวัตถุดิบและระบบสารสนเทศการจัดการผลผลิต อย่างไนก็ตาม การใช้งานระบบสารสนเทศทุกประเภทจะต้องมีองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ (Component of Information System) ซึ่งองค์ประกอบของระบบสารสนเทศทุกส่วนจะมีผลต่อประสิทธิภาพของการใช้งานระบบสารสนเทศนั้นๆ
2. ประเภทของระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ ระบบเภทของระบบสารสนเทศ (Types of Information Systems)
เมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้ หรือที่เรียกว่า ระบบสารสนเทศอิงคอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems หรือ CBIS)
ระบบสารสนเทศสามารถจัดแบ่งประเภทได้หลายวิธี ประเภทของระบบสารสนเทศที่สำคัญ 3 ประเภท ดังนี้
1. ระบบสารสนเทศจำแนกตามประเภทของธุรกิจ : โดยจะต้องออกแบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะงานขององค์การเหล่านั้น ระบบสารสนเทศที่จำแนกตามประเภทของธุรกิจ โดยทั่วไปจะเป็นระบบสารสนเทศขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยระบบสารสนเทศที่จำแนกตาม หน้าที่ย่อยๆ หลายระบบ
2. ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน : จะเป็นระบบที่จำแนกตามลักษณะหรือหน้าที่ของงานหลัก ซึ่งแต่ละระบบสามารถประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยๆ ที่เป็นกิจกรรมของงานหลัก
3. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน : จะถูกออกแบบให้มีความสอดคล้องกับลักษณะงานและระดับของผู้ใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับการนำสารสนเทศไปใช้ประกอบการบริหารและตัดสินใจ
โดยทั่วไประบบสารสนเทศที่อิงคอมพิวเตอร์ (Computer-Based Information Systems) แบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้
1. ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing Systems: TPS) เป็น ระบบสารสนเทศประเภทแรกที่นิยมนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการให้บริการลูกค้า ระบบสารสนเทศแบบประมวลผลธุรกรรมทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล(File) หรือฐานข้อมูล(Database) และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำ (Routine) ขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ โดยปกติ พนักงานระดับปฏิบัติงานจะเป็นผู้จัดทำระบบสารสนเทศประเภทนี้ แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ในปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาระบบการประมวลผลธุรกรรมที่ลูกค้าสามารถป้อน ข้อมูลและประมวลผลรายการด้วยตนเองได้ เรียกระบบสารสนเทศลักษณะนี้ว่า Customer Integrated Systems หรือ CIS เช่น ระบบฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ
ลักษณะการประมวลผลข้อมูลของ TPS แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1.1 การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) เป็นการประมวลผลที่ข้อมูลจะถูกรวบรวมและสะสมไว้ระหว่างช่วงเวลาที่กำหนด แล้วจึงจะประมวลผลรวมกันเป็นครั้งเดียว การออกแบบลักษณะการประมวลผลแบบกลุ่มก็เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และให้เกิดความเหมาะสมกับลักษณะของงาน
ตัวอย่างการประมวลผลข้อมูลแบบกลุ่ม
1.2 การประมวลผลแบบทันที (Real-Time Processing) เป็นการประมวลผลแต่ละรายการและให้ผลลัพธ์ทันทีเมื่อมีการป้อนข้อมูลเข้าสู่ ระบบ การประมวลผลแบบทันทีถ้าเป็นการประมวลผลรายการแบบออนไลน์จะเรียกว่า Online Transaction Processing หรือ OLTP เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS) เป็น ระบบสารสนเทศที่โดยปกติแล้วจะประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูล ที่ได้จาก TPS เพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารสำหรับนำไปใช้ในการวางแผน ควบคุม กำกับดูแล สั่งการ และประกอบการตัดสินใจ โดยสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้
2.1 รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด (Periodic Reports) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจเป็นรายงานที่จัดทำขึ้นทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน หรือทุกๆ ปี
2.2 รายงานสรุป (Summarized Reports) เป็นรายงานที่จัดทำเพื่อสรุปการดำเนินงานโดยภาพรวม โดยปกติจะแสดงผลในรูปของตารางสรุปจำนวนและกราฟเปรียบเทียบ
2.3 รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ (Exception Reports) เป็น รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขพิเศษไม่อยู่ในเกณฑ์การจัดทำรายงานตามปกติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารได้ใช้สารสนเทศสำหรับการตัดสินใจอย่างทัน เวลา
2.4 รายงานที่จัดทำตามความต้องการ (Demand Reports) เป็นรายงานที่มีลักษณะตรงข้ามกับรายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งรายงานจะกระทำตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ Demand Reports จะจัดทำเมื่อผู้บริหารมีความต้องการในรายงานนั้นๆ เท่านั้น
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) เป็น ระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ และจะช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหาและตัดสินใจเฉพาะกรณีตามที่ผู้บริหารต้องการ เป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะ สำคัญของ DSS คือ จะต้องเป็นระบบที่ให้สารสนเทศอย่างรวดเร็วต่อการตัดสินใจ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ ดังนั้น DSS จึงควรออกแบบในลักษณะที่โต้ตอบกับผู้ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบการพัฒนา DSS
ปัจจุบัน ได้มีการใช้เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางออนไลน์จากฐานข้อมูลขนาด ใหญ่ที่ได้มาจากการรวบรวมข้อมูลอดีตและปัจจุบันของ TPS และข้อมูลภายนอกองค์การ เรียกว่า Online Analytical Processing หรือ OLAP สำหรับให้ผู้บริหารได้เรียกดูข้อมูลจากคลังข้อมูล (Data Warehouse) ในหลายๆมุมมองที่แตกต่างกัน
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)
โดยทั่วไปการตัดสินใจในการดำเนินงานขององค์การมักจะเป็นการตัดสินใจของกลุ่มผู้ บริหาร ดัง นั้นปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการสนับสนุนการแก้ไข ปัญหาของกลุ่ม เรียกระบบนี้ว่า ระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจกลุ่ม (Group Decision Support System: GDSS)
GDSS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเสนอและแลกเปลี่ยนความ คิด เห็น ระดมความคิด วิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาเพื่อหาแนวทางหรือรูปแบบในการตัดสินใจร่วมกันของ กลุ่ม และปัจจุบันสามารถใช้สนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มสมาชิกที่อยู่คนละสถานที่ กันได้ด้วย
นอก จาก GDSS แล้ว ยังมีระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจระบบอื่นๆ อีก เช่น ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(Geographic Information Systems : GIS) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของสถานที่ และเส้นทางการเดินทาง
4. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems: EIS หรือ Executive Support Systems: ESS) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง และรวดเร็วต่อความต้องการ ใช้งานได้ง่าย
EIS สามารถเข้าถึงสามาสนเทศจากฐานข้อมูลภายในและภายนอกองค์การและจะนำเสนอ สารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์ในรูปของรายงาน ตาราง และกราฟ เพื่อการสรุปสารสนเทศให้ผู้บริหารได้เข้าใจง่ายและประหยัดเวลา
5. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems: ES) ปัญญาประดิษฐ์เป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนกับมนุษย์หรือเลียนแบบ การทำงานของมนุษย์ AI มีหลายสาขา เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing), ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์(Robotics), ระบบการมองเห็น (Vision Systerms), ระบบการเรียนรู้(Learning Systems), เครือข่ายเส้นประสาท(Neural Networks) และระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert Systems) ระบบ ผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) หรือระบบฐานความรู้ (Knowledge-based System) เป็นระบบที่รวบรวมและจัดเก็บความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยในการหาข้อสรุปและคำแนะนำให้กับผู้ใช้
3. ข้อแตกต่างระหว่าง EIS กับ GDSS
ตอบ EIS (Executive Information System: EIS)
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS)
ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
คุณสมบัติของระบบ EIS
- มีการใช้งานบ่อย
- ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
- ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
- การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
- การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
- ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
- การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
- ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด
ประโยชน์ของของระบบ EIS
1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน
2. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
4. ทำให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น
5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา
6. ทำให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น
GDSS (Group Decision Support Systems)
ลักษณะของระบบสนันสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
1. เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งไม่ใช่การนำองค์ประกอบต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว มาประยุกต์ใช้แต่จะต้องสร้างขึ้นมาใหม่จึงจะเรียกว่าเป็นระบบ GDSS
2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม ถูกออกแบบมาโดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจขององค์ประชุม
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจถูกออกแบบมาเพียงเพื่อต้องการแก้ปัญาหาเฉพาะหน้า หรือแก้ไขปัญหาทั่วไปก็ได้
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะต้องง่ายต่อการเรียนรู้ และใช้งานได้สะดวก อีกทั้งยังอาจให้ความหลากหลายกับผู้ใช้ในแต่ละระดับที่เกี่ยวข้องกับความรู้ การประมวลผล และการสนับสนุนการตัดสินใจ
5. มีกลไกที่ให้ผลในเรื่องการปรับปรุงจุดบกพร่องที่เกิดจกพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมประชุม เช่นการขจัดความขัดแย้งในที่ประชุม
6. ระบบจะต้องออกแบบให้มีความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมต่างๆ เช่น กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
ประโยชน์ของ GDSS
1. ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
2. มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
3. สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
5. มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
6. ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
7. มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด
ความแตกต่างของระบบ EIS และ ระบบ GDSS
ระบบของ GDSS จะเน้นออกแบบไปในทางที่ประชากรเป็นกลุ่มๆ ทางด้านความสามารถนั้น
จะต้องหาบุคลากรที่มีความชำนาญในด้านนี้พอสมควร ในด้านข้อมูลถือว่ามีความละเอียดสูงโดยจะได้รับความคิดเห็นได้หลากหลาย แล้วนำข้อเสนอหรือความคิดเห็นมาปรับปรุงแก้ไขได้
ส่วนของระบบ EIS จะเน้นไปในทางของผู้บริหารเพียงอย่างเดียว ข้อมูลที่ได้มีความรวดเร็วเป็นสถานการณ์ปัจจุบัน โดย จะสามารถวิเคราะห์แนวโน้มในภายภาคหน้าได้ ซึ่งเป็นระบบสำคัญให้กับองค์กรหรือบริษัทของผู้บริหารเป็นอย่างดี เป็นตัวช่วยในหารตัดสินใจที่ดี